1. การพิมพ์ปาก
       1.1 การเลือกถาดพิมพ์ปาก
       1.2 การผสมอัลจิเนต
       1.3 การบรรจุอัลจิเนตลงถาดพิมพ์
       1.4 เทคนิกการพิมพ์ให้ได้รอยพิมพ์ที่ดี

2. การเลือกสีฟัน
 
  1. การพิมพ์ปาก   
         1.1 การเลือกถาดพิมพ์ปาก (ค.1)  
               - ถาดพิมพ์ที่ใช้ในการออกหน่วยมักจะเป็นถาดที่ใช้สำหรับพิมพ์ปากผู้ป่วยมีฟัน
             ในการเลือกควรให้มีระยะห่างจากสันเหงือกที่เท่าๆกันในทุกด้าน
          1.2 การผสมอัลจิเนต (ค.1)  
              - เทน้ำลงในถ้วยผสม ตามด้วยผงอัลจิเนต แล้วคนให้เข้ากัน
          - วางถ้วยผสมบนเครื่องผสมที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า โดยกดพายผสมให้แนบกับถ้วย ส่วนมืออีกข้างหนึ่งป้องปากถ้วยป้องกันการกระเด็น
          - เหยีบ foot switch พร้อมกับพลิกพายผสมกลับไปมา นาน 30 วินาที
          - รวบรวมอัลจิเนตให้เป็นก้อนเดียวกัน
         1.3 การบรรจุอัลจิเนตลงถาดพิมพ์  (ค.1)  
              1.3.1 ถาดพิมพ์บน
                 - นำอัลจิเนตทั้งก้อนวางในถาดพิมพ์ แล้วกดไล่ให้แน่นและเต็มเสมอขอบ
          1.3. 2. ถาดพิมพ์ล่าง
                 - แบ่งอัลจิเนตออกเป็นสองก้อน วางไว้ในถาดพิมพ์ด้านซ้ายและด้านขวา จากนั้นกดไล่ให้แน่นและเต็มเสมอขอบ
        1.4 เทคนิกการพิมพ์ให้ได้รอยพิมพ์ที่ดี (ค.1)  
              - ใช้นิ้วป้ายอัลจิเนตลงในบริเวณที่คาดว่าอัลจิเนตในถาดพิมพ์จะเคลื่อนลงไปไม่ถึง หรืออาจจะมีฟองอากาศ เช่น
            บริเวณด้านข้างต่อ maxillary tuberosity บริเวณ rertromylohyoid fossa และ บริเวณกลางเพดาน จากนั้นจึงค่อยๆ
            นำถาดพิมพ์เข้าไปในปาก จัดตำแหน่งถาดพิมพ์ให้ ถูกต้อง แล้วจึงค่อยๆ กดถาดพิมพ์ลงบนสันเหงือก
          - เมื่อถาดพิมพ์วางเข้าที่แล้วจึงบอกให้ผู้ป่วยขยับแก้มริมฝีปากและลิ้นไปมาเพื่อที่ว่ารอยพิมพ์
            จะมีขอบที่ค่อนข้างใกล้เคียงกับขอบฟันเทียม
ภาพแสดงการพิมพ์ Video learning : Preliminary impression
ลักษณะรอยพิมพ์ที่ด (ค.1)
รอยพิมพ์ที่ได้ควรครอบคลุมสันเหงือกที่รองรับฟันเทียมทั้งหมด และไม่มีฟองอากาศขนาดใหญ่
  2. การเลือกสีฟัน(ค.1)    
   

      เพื่อให้ง่ายในการจัดเตรียม โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้ฟันที่มีสี A3 หรือ A3.5 เนื่องจากคนส่วนใหญ่จะมีฟันสีนี้


Video learning
: teeth color selection

  ปฏิบัติการ 1 (ป.1)    
    1. ทำชิ้นหล่อ
2. ทำ occlusion rim 
    
   
    1. ทำชิ้นหล่อ (ป.1)
           1.1 ทำความสะอาดรอยพิมพ์
       1.2 ผสมปูน
       1.3 เทแบบ
                1.1 ทำความสะอาดรอยพิมพ์ (ป.1)  
                     - ล้างน้ำลายออกจากรอยพิมพ์อัลจิเนตให้หมด
                 - สเปรย์รอยพิมพ์ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
                 - ล้างน้ำยาฆ่าเชื้อออกจากรอยพิมพ์

 
               1.2, 1.3 ผสมปูนและเทแบบ (ป.1)  
                      - เทน้ำลงในถ้วยผสม ตามด้วยปลาสเตอร์และผงเร่งการแข็งตัว
                  - ผสมวัสดุจนกระทั่งเนียนและเป็นเนื้อเดียวกัน
                  - เทวัสดุลงในรอยพิมพ์บนเครื่อง vibrator โดยเททีละน้อยและปล่อยให้ค่อยๆไหลไปจนทั่วและเต็มรอยพิมพ์
                  - วางไว้นิ่งๆจนกระทั่งปูนแข็งตัวเต็มที่ จึงนำมาแกะรอยพิมพ์ออก
                  - ต่อฐาน และตัดแต่งฐานให้เรียบร้อย
     2. ทำ occlusion rim (ป.1)   
            2.1 นำแผ่นอะคริลิกที่ก่อตัวด้วยแสงมาวางลงบนชิ้นหล่อ
              กดให้แนบ
        2.2 แล้วตัดแต่งให้มีขอบตามที่วาดไว้
        2.3 นำชิ้นงานวางในตู้บ่มด้วยแสงเป็นเวลา 1 นาที

        2.4 แกะ base plate ออกมาแล้วทำการขัดแต่งขอบให้เรียบ
2.5 นำขี้ผึ้งมาก่อในส่วนแท่นกัด
   
   
   
   
   
   
   
   

   
   
      ลักษณะของ Base plate ที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว
    Video Learning
: Adapt Base Plate