วิธีที่1
     1. ปั้นแต่งขอบ

     2
. ลอง occlusion rim
        - หาความอูมนูน และ vertical dimension
     3. เรียงฟัน

     4. พิมพ์ปาก
     5. บันทึกการกัดสบ

วิธีที่2
     1. ลอง occlusion rim
     2. เรียงฟันหน้า
     3. บันทึกการกัดสบ



   

วิธีที่1
     1 ปั้นแต่งขอบ (ค.2)
        - ทำการปั้นแต่งขอบในแต่ละขากรรไกรก่อน เพื่อให้การติดอยู่ของ occlusion rim ดียิ่งขึ้นจากผนึกบริเวณขอบ
         โดยอาจจะใช้ อะคริลิกที่บ่มด้วยแสง หรือ ใช้ putty type silicone ก็ได้


Video Learning : Uper border mold         Lower border mold

     2. ลอง occlusion rim (ค.2)
        ขั้นตอนที่ 1 การลองความอูมบน
                ดูใบหน้าผู้ป่วยจากทางด้านหน้าและด้านข้าง พิจารณาความเหมาะสมของความอูมของริมฝีปาก จนกระทั่งผู้ป่วยมีรูปหน้าส่วนบน
       ที่ดูดีและเหมาะสมในการลองความอูมด้านข้างหรือด้านแก้ม ให้สังเกตดูช่องข้างแก้มหรือช่องระหว่างแก้มโดยปกติควรจะมีช่องเล็กๆให้
       เห็นเป็นเงาดำบ้าง ไม่ควรทำให้ช่องนี้กว้างเกินหรือแคบเกินไปจนทำให้ดูมีฟันเต็มปากเมื่อแท่นกัดมีความอูมนูนที่เหมาะสมริมฝีปากจะมี
       ลักษณะอิ่มเต็มไม่ดูหลุบไปด้านใน ร่องริมฝีปากบนแสดงให้เห็นรอยหยักที่ชัดเจน และมุมปากไม่ตกหรือดูบวมตุ่ยขึ้นมา


       
ขั้นตอนที่ 2 การหาตำแหน่งปลายฟันหน้าบน
               โดยเฉลี่ยแล้วเมื่อมองใบหน้าด้านตรงในขณะผู้ป่วยอ้าปากไม่เกิน 2 ซม. ตำแหน่งปลายฟันหน้าบนควรจะอยู่ต่ำกว่าขอบล่างของริมฝี
       ปากบนประมาณ 1-2 มม. เมื่ออ้าปากกว้างขึ้นริมฝีปากบนก็จะคลุมปลายฟันหน้าบนมากขึ้นจนที่สุดก็จะมองไม่เห็นเมื่ออ้าปากกว้างเต็มที่
       แต่ในขณะยิ้มก็จะเห็นปลายฟันมากขึ้นประมาณ 1/3-2/3 ของความยาวฟันหน้าบนและเห็นเต็มซี่ฟันเมื่อหัวเราะ หรือเห็นถึงเหงือก ขณะเดียว
       กันในผู้สูงอายุริมฝีปากบนจะหย่อนยาวลงมาทำให้ปิดบังปลายฟันหน้าบนมากขึ้นจนอาจมองไม่เห็น การที่มองไม่เห็นปลายฟันหน้าบนอาจมี
       ผลทำให้ผู้ป่วยดูเป็นผู้สูงอายุมากขึ้นด้วยการทดสอบตำแหน่งปลายฟันหน้าบนด้วยการออกเสียงทำได้โดย เมื่อใส่แท่นกัดบนแล้วให้ผู้ป่วย
       ออกเสียง /ฟ/ หรือ /ฝ/ เช่น ฝาฝีฟันเฟือง จะพบว่าปลายฟันหน้าบนจะแตะสัมผัสเบาๆ ที่รอยต่อระหว่างเยื่อเมือกเปียกและแห้งของริมฝ
ี       ปากล่าง (vermilion border)

       ขั้นตอนที่ 3 การหาระนาบสบฟันบน
                 ระนาบของขากรรไกรบนจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ระนาบด้านหน้าและระนาบด้านข้าง ระนาบสบฟันด้านหน้าบนจะเป็นแนวต่อเนื่อง
       ที่สัมพันธ์กับตำแหน่งปลายฟันหน้าบน โดยระนาบนี้จะขนานกับแนวต่อของระดับรูตาดำซ้ายและขวาของผู้ป่วย ส่วนระนาบด้านข้างจะต่อไป
       จากระนาบด้านหน้าโดยมีการยกตัวขึ้นทางด้านท้าย ซึ่งจะสัมพันธ์กับเส้นที่ลากระหว่างขอบล่างของปีกจมูกไปยังขอบบนของติ่งหน้ารูหู
       (alar targus line) หรือที่เรียกว่า เคมเพอร์ ไลนด์ (Camper's line) ซึ่งแนวนี้ได้มากจากการศึกษาระนาบสบฟันของฟันธรรมชาติจึงอาจ
       แตกต่างกันไปบ้างตามลักษณะทางโครงสร้าง ในการตรวจสอบว่าแนวระนาบสบฟันนั้นเป็นไปตามแนวที่กำหนดไว้หรือไม่จะใช้ฟอกซ์เพลนเป็น
       เครื่องช่วย

       ขั้นตอนที่ 4 การลองความอูมล่าง
                   ในการลองความอูมล่างก็ใช้หลักการเช่นเดียวกันกับการลองความอูมบน คือเพื่อให้ได้รูปของใบหน้าที่ดูสวยงามสมส่วน และให้การรอง
       รับริมฝีปากล่างอย่างดีโดยดูได้จากลักษณะของริมฝีปากล่างที่ไม่หุบเข้าไปข้างในหรือบวมตุ่ยออกมา

       ขั้นตอนที่ 5 การหาตำแหน่งปลายฟันหน้าล่าง
                    โดยทั่วไปแล้วการหาตำแหน่งปลายฟันหน้าล่างมักจะไม่ค่อยสร้างความลำบากในการตัดสินใจเท่ากับการหาปลายฟันหน้าบน
        หากได้ความอูมที่เหมาะสมแล้วระดับปลายฟันหน้าล่างมักจะอยู่ในระดับเดียวกันกับระดับขอบบนของริมฝีปากล่าง

       ขั้นตอนที่ 6 การหาระนาบสบฟันล่าง
                   ระนาบสบฟันล่างจะแนวที่ต่อเนื่องมาจากระดับของปลายฟันหน้าล่าง โดยระนาบนี้จะเสมอไปกับขอบข้างของลิ้นในขณะพัก
        และไปสิ้นสุดที่ระดับ 2/3 ของแผ่นนวมท้ายฟันกราม

                      ในการลอง occlusion rim จะต้องพิจารณาทั้งการบูรณะความอูมนูนของใบหน้า มิติในแนวดิ่ง และ ระนาบการสบฟันไปพร้อมๆกัน
       เพื่อให้ได้แนวของการเรียงฟันที่เหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุดทั้งในแง่ของความสวยงาม และการใช้งาน ซึ่งสามารถตรวจสอบ โดยพิจารณาจาก
       สัดส่วนของใบหน้า การพูด การยิ้ม และ การออกเสียง
ภาพแสดงการลอง occlusion rim และการตรวจสอบ
Video learning : Finish u&l_vd
   
3.เรียงฟัน
      

 
  - การใช้ฟันหน้าและฟันหลัง
  ที่จัดเรียงเป็นแผงสำเร็จรูป
  จะทำให้ประหยัดเวลาใน
  การเรียงฟันหน้าค่อนข้างมาก
 
     
     
     
 

 
 

 
     
  - ขั้นตอนนี้ทันตแพทย์อาจจะ
  ทำเองหรืออาจจะให้ช่างทำก็ได้
 
     
     
               การเรียงฟันหน้าบนโดยทันตแพทย์ (ค.2)
                     - ใส่ base plate บน ในปาก
                 - ขีด midline ลงบน base plate
                 - นำ base plate มาวางบนชิ้นหล่อ แล้วขีด midline ลงบนชิ้นหล่อ
                 - วาง set up wax รูปตัว U บน base plate ตามแนวของสันเหงือก
                 - นำไปลองในผู้ป่วยจนเป็นที่พอใจ

Video learning try anterior teeth
                   การเรียงฟันหลังบนโดยทันตแพทย์ (ค.2)
                     - นำ base plate มาวางบนชิ้นหล่อ แล้วติดแผงฟันหลังลงไปในตำแหน่งอย่างคร่าวๆ
                 - ใส่ base plate กลับเข้าไปในปาก ปรับแต่งให้ระนาบสบฟันให้ขนานไปกับ alar targus line และอยู่ในระนาบเดียวกัน
                 - ทาวาสลีนที่ด้านสบฟันของฟันบน พร้อมสำหรับการบันทึกการกัดสบกับ occlusion rim ล่าง
   
4.พิมพ์ปาก (ค.2)
            ขั้นตอน การพิมพ์ปากขั้นสุดท้าย
                   ในการพิมพ์ขั้นสุดท้ายควรเลือกใช้วัสดุพิมพ์ที่มีความแม่นยำสูง เสถียรภาพสูง ความหนืดปานกลาง เมื่อก่อตัวแล้วควรมีความแข็ง
            คงรูปร่าง ดี และเหนียว จากการออกไปทดสอบระบบปฏิบัติงานในพื้นที่พบว่าวัสดุประเภท โพลิอีเธอร์ และ ซิลิโคน ใช้งานได้ดี โดยโพลิอีเธอร์
            มีความคงตัว มีเสถียรภาพและการใช้งานที่ดีกว่า รวมทั้งไม่เป็นปัญหาเมื่อสัมผัสกับถุงมือยางพารา ในกรณีที่มีผู้ป่วยมารับการรักษาเป็น
            จำนวนมาก  ควรใช้เครื่องผสมวัสดุพิมพ์ปากจะทำให้สามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้น ทั้งยังได้รอยพิมพ์ที่มีความถูกต้องแม่นยำสูงไม่สิ้นเปลือง
            วัสดุและค่าวัสดุ ต่อผู้ป่วยแต่ละรายถูกลงมาก

 
การพิมพ์ปากอาจทำด้วยวิธี closed mouth หรือ อาจทำการพิมพ์ปากแยกบนและล่างก็ได้
 
Video learning : Final impression
   
5. บันทึกการกัดสบ (ค.2)
          - บันทึกการกัดสบโดยทำรอยบากบน occlusion rim บน (ในกรณีที่เรียงฟันหลังบนแล้วก็ไม่ต้องทำรอยบาก)
       ทาวาสลีนลงบนด้านสบฟัน จากนั้นจึงใช้ตะเกียงพ่นไฟให้ขี้ผึ้งในบริเวณตำแหน่งฟันหลังล่างให้นิ่ม จึงนำผู้ป่วยเข้าสู่ความสัมพันธ์

Video learning
: bite regist final

       วิธีที่2


ลอง occlusion rim
Video learning : finish u&l_vd


เรียงฟันหน้า และทำการบันทึกการกัดสบ

Video learning : try ant teeth

 
ปฏิบิตการ 2 (ป.2)
   
1.ทำชิ้นหล่อstone
2. Mounting ใน articulator
3. เรียงฟันและแต่งขี้ผึ้ง
4. อัดอะคริลิกและขัดแต่ง
    1.ทำชิ้นหล่อstone (ป.2)     
   
     - การทำชิ้นหล่อ stone ก็อาศัยหลักการและวิธีการเช่นเดียวกับชิ้นหล่อปลาสเตอร์ เพียงแต่ว่าต้องให้ความใส่ใจในการเท stone
       ให้คลุมส่วนที่เป็นขอบของฟันเทียมด้วย เพื่อให้ขอบฟันเทียมที่ทำเสร็จมีขนาดและรูปร่างตามที่ได้ปั้นแต่งไว้แล้ว
       และต้องไม่ให้ปูนเลอะเข้าไปในส่วนรอยบันทึกการสบฟัน ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้
   

             1.1 วิธีการทำชิ้นหล่อ stone (ป.2) 

 
                     - ยึด occlusion rim บนและล่างเข้าด้วยกันให้แน่นหนา โดยอาจจะใช้ขี้ผึ้งหรือใช้ใส้ max ก็ได้
                 - วาดขอบเขตของการเทปูนบนขอบรอยพิมพ์โดยรอบ โดยให้ห่างจากส่วนขอบปลายประมาณ 3 มิลลิเมตร
                 - เท stone ลงในรอยพิมพ์บนแค่พอดีขอบ
                 - วาง occlusion rim ลงบนพื้นที่บุด้วยฟองน้ำอย่างหนา เพื่อป้องกันไม่ให้รอยพิมพ์ล่างเสียหาย
                 - เมื่อปูนเริ่มอยู่ตัวแล้วจึงคว่ำรอยพิมพ์บนให้วางบนบล๊อกต่อฐานที่บรรจุ stone ไว้จนเต็ม กดรอยพิมพ์ลงไปจนกระทั่ง stone
                  ขึ้นมาคลุมถึงรอยที่ทำเครื่องหมายไว้
                 - เมื่อ stone เริ่มแข็งตัวจึงทำการตกแต่งขอบให้เรียบร้อยอีกครั้ง
                 - รอจนกระทั่ง stone แข็งตัวเต็มที่จึงเริ่มทำการเท stone ในส่วนของรอยพิมพ์ล่าง ด้วยวิธีการเช่นเดียวกัน
                 1.2 ข้อดีของการเทรอยพิมพ์วิธีนี้ (ป.2)   
   
                 - รอยบันทึการสบฟันไม่เสียหาย
                 - สามารถได้รอยพิมพ์ที่เก็บรายละเอียดข้อมูลในส่วนขอบปลายได้เป็นอย่างดี
    2. Mounting  (ป.2)  
           ในการทำฟันทดแทนทั้งปากวิธีนี้จะทำการ mounting ใน articulator แบบ plane line มีวิธีการดังนี้
               - วาง plane line ลงบนพื้นกระเบื้อง
               - ผสมปลาสเตอร์วางก่อลงไปในส่วนฐาน
               - วางชุด occlusion rim พร้อม ชิ้นหล่อ ลงบนปลาสเตอร์ ปรับตำแหน่งให้เรียบร้อย
               - ปิดส่วน upper member ลงมา
               - ผสมปลาสเตอร์ปิดทับในส่วนบน
               - ทำการตกแต่งปูนให้เรียบร้อย
    3. เรียงฟันและแต่งขี้ผึ้ง (ป.2)  
          - ในการเรียงฟันและแต่งขี้ผึ้งจะต้องไม่แกะส่วน base plate ออกจากชิ้นหล่อโดยเด็ดขาด เนื่องจากส่วนฐานถูกฉาบด้วยวัสดุพิมพ์ไว้
        หากแกะออกจากกันแล้วจะไม่สามารถวางกลับลงไปให้เข้าที่เหมือนเดิมได้
      - เนื่องจากฟันที่ใช้เรียงนี้มีลักษณะที่ยึดกันเป็นแผงสำเร็จรูป ประกอบด้วยชุดฟันหน้า และ ชุดฟันหลังชนิดระนาบเดียว
        จึงสามารถย่นระยะเวลาในการเรียงฟันได้อย่างมาก
      หลักกการเรียงฟันแบบระนาบเดียว (ป.2)
     
       เรียงฟัน (ป.2)
 
       ในกรณีที่ทันตแพทย์ไม่ได้เรียงฟันมาให้มีวิธีการดังต่อไปนี้
          1. ขีดเส้น midline ลงบนชิ้นหล่อ
          2. ตัดขี้ผึ้งในส่วนของฟันหน้าออกเกือบทั้งหมด โดยเหลือเฉพาะในส่วนฐานที่ติดกับ base plate
             จากนั้นทำการพ่นไฟให้นิ่มจนพอปั้นได้
          3. วางชุดแผงฟันหน้าบนลงไปในตำแหน่ง contour เดียวกับของ occlusion rim และปลายฟัน
              อยู่บนระนาบสบฟันเดียวกันกับส่วนหลัง (ตรวจสอบโดยใช้ plate สำหรับเรียงฟัน)
          4. ในระหว่างที่รอการแข็งตัวของชุดแผงฟันหน้าบน ให้ทำการเรียงชุดฟันหน้าล่างด้วยหลักการและวิธีการเดียวกัน
          5. ทำการเรียงชุดฟันหลังบน
          6. ตรวจสอบระนาบสบฟันบนอีกครั้ง หากไม่เป็นระนาบเดียวกันให้ทำการพ่นไฟในส่วนของขี้ผึ้งให้นิ่ม จากนั้นจึงนำ plate
             มาวางทาบแล้วทำการขยับฟันจนกระทั่งชุดฟันทั้งหมดมีด้านสบฟันที่อยู่ในระนาบเดียวกัน
          7. เมื่อขี้ผึ้งแข็งตัวแล้วจึงเริ่มเรียงฟันหลังล่าง โดยให้ระนาบสบฟันแนบสนิทกับฟันบน
          8. เมื่อขี้ผึ้งทั้งหมดแข็งตัวดีแล้วจึงทำการแต่งขี้ผึ้ง

             ( ในกรณีที่ทันตแพทย์เรียงฟันบนมากให้แล้วก็ให้พิจารณาว่าทำถึงขั้นตอนใด ก็ให้ทำต่อไปเลยตามลำดับที่กล่าวมาข้างต้น )
 
        การแต่งขี้ผึ้ง (ป.2)
 
        การแต่งขี้ผึ้งก็ใช้หลักการและวิธีการที่ทำกันโดยทั่วไป แต่ก็ยังมีเทคนิกที่ทำให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วคือ
          1.
ในขณะเรียงฟัน ใช้ขี้ผึ้งในปริมาณแค่เพียงพอสำหรับยึดซี่ฟันเท่านั้น (under contour) และแต่งให้เป็นรูปร่างเพียงคร่าวๆ
          2. ใช้ขี้ผึ้งที่ตัดเป็นแผ่นยาวโดยมีความกว้างประมาณระยะจากขอบปลายมายัง ตำแหน่งกลางซี่ฟัน
          3. พ่นไฟให้แผ่นขี้ผึ้งนิ่ม จากนั้นจึงนำไปคลุมส่วนผิวของขึ้ผึ้งเดิมทั้งหมด
          4. ใช้นิ้วในการกดแผ่นขี้ผึ้งให้แนบและแต่งรูปร่างไปในตัว
          5. ใช้ carver แต่งขี้ผึ้งในส่วนขอบเหงือก
          6. ใช้ torch พ่นไฟให้ผิวขี้ผึ้งเนียนเรียบตามรูปร่างที่ทำไว้
    
        ลง flask (ป.2)
 
          1. เคาะเอาชิ้นหล่อออกมาจาก articulator
          2. ทำการลง flask และ ไล่ขี้ผึ้ง ตามวิธีการปกติ โดยมีสิ่งที่ต้องทำเป็นพิเศษคือ
                    - ทำเครื่องหมายเพื่อระบุผู้ป่วยไว้ที่ฐานชิ้นหล่อ และ บนผิวปูนในส่วนของ lower half
                    - เมื่อไล่ขี้ผึ้งออกแล้วจึงทำการวาดและขูด post dam
 
        การทำ post dam (ป.2)
 
          1. วาดขอบด้านท้ายของ post dam โดยดูจากตำแหน่งขอบท้ายของ base plate บน
          2. จากนั้นจึงวาดขอบหน้าให้มีรูปร่างดังภาพ
 
 
      4. อัดอะคริลิก (ป.2)  
       การอัดอะคริลิกก็ใช้วิธีการตามปกติ เพียงแต่ผสมเพื่อให้ก่อตัวอย่างรวดเร็ว ดังนี้
       ขัดแต่ง (ป.2)  
            1. การขัดแต่งก็ทำตามวิธีการปกติอีกเช่นกันค่ะ
        2. ลักษณะของฟันทดแทนทั้งปากที่ขัดแต่งได้อย่างเรียบร้อยพร้อมใส่มีดังนี้
                      - ไม่มีครีบหรือปุ่มแหลมคมใดๆ
                      - ผิวด้าน polishing surface เรียบและมัน